คิดให้ดีก่อนตัดสินใจแต่่งงาน
ทุกๆคนที่ผ่านวัยหนุ่มสาว มักเคยมีเพื่อนคู่ใจแต่พอคบดูใจกันสักพักก็อาจมีการเปลี่ยนคู่และ
แต่่งงานกับคนอื่น บางคนอาจไม่เคยมีเพื่อนคู่ใจเลยเพราะว่าไม่มีใครที่คิดว่าเหมาะะสมหรือถูกใจเรา การเลือกคู่มีหลายทฤษฏีที่ศึกษาว่า ควรจะเลือกคู่อย่างไรเลือกแบบไหนเพื่อให้ชีวิตคู่มีความสุข เช่น
1.เลือกโดยการหาคนที่เหมาะสมเท่าเทียมทางสังคม และเศรษฐฐานะ
2.เลือกโดยการจับคู่ เช่น นิสัยใจคอ ภูมิหลัง การศึกษา ถ้าคล้ายคลึงกันก็น่าจะอยู่กันนาน
3.เลือกโดยการใช้เวลาศึกษาและพัฒนาความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้น หรือบางคนลองอยู่ด้วยกันก่อนแต่งว่าเข้ากันได้หรือไม่ เช่น ในประเทศตะวันตก
การเลือกคู่ มีหลายวิธี หลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยไม่มีทฤษฏีใดอธิบายหรือใช้ได้กับทุกคนที่คิดจะแต่งงาน แต่สิ่งที่ฝากเตือนไว้ก็คือ ในระหว่างที่คบกันใหม่ๆทุกอย่างดูมีความสุขเหมือนคำโบราณที่ว่า "ข้าวใหม่ปลามัน" ในขั้นตอนนี้บางครั้งเรามองข้ามจุดไม่ดีต่างๆของคนที่เราคบ และเมื่อแต่งงงานก็พบว่า ข้อเสียต่างๆเหล่านี้มีมากมายเหลือเกิน ค่อยๆโผล่ขึ้นมา เพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกผิดหวังกับการตัดสินใจ ขอแนะนำดังนี้
1.มองหาคนที่คิดว่าเหมาะสมกับเรามากที่สุด และใช้เวลาในการศึกษานิสัยใจคอและครอบครัวของเขา เพราะการแต่งงานจะต้องแต่งกับครอบครัวของเขาด้วย ครอบครัวของเราและของเขาเข้ากันได้ไหม ถ้าเราต้องอยู่กับครอบครัวเขาจะรับได้หรือไม่ อย่าใช้คำว่า
"คิดว่าแต่งงานแล้วเขาจะทำตามที่เราต้องการ แต่งแล้วคงปรับตัวได้ " อนาคตเป็นสิ่งไม่แน่นอนไม่มีใครคาดเดาได้ ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
2.นิสัยข้อเสียต่างๆในคู่ของเราที่พบ เช่น นิสัย ท่าทาง คำพูด มารยาท ฯลฯ เรายินดีรับกับสิ่งเหล่านั่้นหรือไม่ ถ้าไม่มีทางแก้ไข เพราะการปรับเปลี่ยนใครสักคนเป็นสิ่งที่ย่ก ถ้าเขาไม่สมัครใจและตั้งใจที่จะเปลี่ยนจริงจัง ( ไม่ใช่เขาไม่รักแต่ทำยาก ) ดังนั้นข้อเสียเหล่านี้ถ้าเขาเปลี่ยนได้ก็ถือว่า เราโชคดี แต่ถ้าเปลี่ยนไม่ได้จะทำอย่างไร !!
อย่าคิดว่า " แต่งแล้วคงเห็นแก่ภรรยา/สามีและลูกคงเปลี่ยนได้ "
3.อย่าทุ่มเทใจให้หมด เผื่อความผิดหวังไว้บ้าง เพราะการเลือกคู่คือ การซื้อล๊อตเตอรี่เราอาจไม่ถูกรางวัลก็ได้ และควรเตรียมพร้อมเสมอที่จะเปิดโอกาส ถ้าเราทั้ง 2 คนเข้ากันไม่ได้
ชีวิตคู่มีความสุขได้อย่างไร ?? (ปัจจัยที่ไม่ควรมองข้าม)
จากการศึกษาคู่สามีภรรยาที่แต่งงานในอเมริการ้อยละ 61 มีความสุขถึงสุขมากในการแต่งงาน ในคู่สามีภรรยากลุ่มนี้ พบว่า มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ ในช่วงนอกเวลางานใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ด้วยกัน มีความสนิทสนมคล้ายเพื่อน แสดงความรักให้ความเคารพและความห่วงใย ในความต้องการของกันและกัน ฝ่ายหญิงมีส่วนร่วมในการตัดสินใจได้เท่าเทียมกับฝ่ายชาย จากผลการศึกษานี้สะท้อนให้เห็นว่า ความใกล้ชิด การให้เกียรติและยอมรับในคู่สมรส รวมทั้งความต้องการต่างๆทั้ง 2 ฝ่าย ควรมีส่วนในการตัดสินใจร่วมกัน เป็นสิ่งที่ในสังคมไทย อาจต้องมีการยอมรับบทบาทฝ่ายหญิงมากขึ้น เพื่อความสุขในชีวิตแต่งงานเพราะในปัจจุบันฝ่ายหญิงมีการศึกษาและมีงานทำมากขึ้น
การสื่อสาร เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชีวิตคู่มีความสุข!! หลายท่านอาจสงสัยว่า เป็นได้อย่างไร การแต่งงานคือ การอยู่ร่วมกันของคนสองคนหรืออาจเพิ่มขึ้นถ้ามีลูกหรือญาติพี่น้องเกี่ยวข้องด้วย ลองนึกภาพดูในสังคมเล็กๆ มนุษย์เรามีการสื่อสารใหญ่ๆ 2 ทางคือ การสื่อสารโดยคำพูด และสื่อสารโดยภาษากาย ถ้าเราพูดคุยกับใครและได้รับการยอมรับ ไม่ถูกว่ากล่าว ไม่ถูกติเตียน เราคนที่พูดคงรู้สึกมีความสุขและภูมิใจในตัวเองและอยากพูดอยากคุยกับคนนั้นอีก ในสังคมเล็กๆของชีวิตคู่ก็เช่นกัน
การสื่อสารที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
การสื่อสารที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้
1.
สื่อสารด้วยคำพูดทางด้านบวก ( พูดจาภาษาดอกไม้ ) โดยการฟังยอมรับ เห็นด้วย มีอารมณ์ขัน หรือเปิดโอกาสให้อีกฝ่ายได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น โดยไม่มีการตำหนิด่าว่า หรือสั่งบังคับข่มขู่ขู่เข็ญ
2.
แสดงอารมณ์ที่ดีต่อกัน ( ยิ้มแย้มแจ่มใส ) แม้บางครั้งรู้สึกโกรธไม่พอใจ แต่การมีอารมณ์ที่ผ่อนคลายไม่โมโห หรือยิ้มสู้เข้าไว้ อาจทำให้บรรยากาศในการพูดคุยดีขึ้น
3.
ทัศนคติที่ดีกับคู่สมรส มองเขาในแง่บวกเข้าใจในความรู้สึกความต้องการของคนที่เรารัก เช่น -สามีกลับบ้านดึกก็ต้องเข้าใจว่า เขามีความจำเป็นที่ต้องติดธุระ หรือ ทำงาน
-การที่เขาให้ของขวัญญาติพี่น้อง ก็เพราะเขามีคริบครัวเดิมที่ต้องรับผิดชอบ ไม่ใช่เขาเป็นของเราคนเดียว
การจับผิด การมอง หรือ คิดในด้านลบ ทำให้เกิดความขัดแย้งมากมาย แม้ในบางครั้งเขาอาจไม่ได้ทำผิดจริง แต่ความรู้สึกไม่ไว้ใจกันจะทำให้ความรักจางลง
4.
รับผิดชอบต่อครอบครัวในทุกๆเรื่อง ( เอาใจใส่ดูแล ) การรับผิดชอบในครอบครัวไม่ใช่จู้จี้ เพราะการจู้จี้ คือการที่เราให้เขาทำในสิ่งที่เราอยากให้ทำ แต่กดารับผิดชอบ คือการปรับที่ตัวเราให้ทำหน้าที่บทบาทของตนเองให้ดีที่สุด โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับคู่สมรส ( อย่าโมโห อย่าคาดหวัง หรือโกรธ ถ้าอีกฝ่ายไม่ทำ ) เช่น การให้เกียรติ การดูแลเงินทอง การดูแลความเป็นอยู่ การให้ความห่วงใย
5.
เป็นคนเปิดเผย ( อย่ามีความลับ) การเปิดเผยตนเองเป็นการสื่อสารอีกชนิดหนึ่งที่ทำให้รู้สึกไว้ใจซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดความผูกพันและใกล้ชิดกันมากขึ้น และการเปิดเผยอาจช่วยทำให้เรามีคนช่วยคิดช่วยแก้ปัญหา แม้บางครั้งปัญหาอาจแก้ไม่ได้ แต่อย่างน้อยเราได้รับการดูแลทางจิตใจจากคนใกล้ชิด ก็ทำให้ชีวิตคู่มีความสุขได้
จากการสื่อสารต่างๆทั้ง 5 ประเภทที่กล่าวจะเห็นว่า ถ้าเราสามารถปฎิบัติได้ คนใกล้ชิดของเราก็อาจจะเรียนแบบวิธีพูดวิธีคิดมุมมองของเราที่ดีและปฎิบัติต่อกันในด้านดีๆกลับมาก็ได้นะคะ แต่ถ้าไม่มีการปฎิบัติกลับมาอย่างน้อยเราก็น่ารักในสายตาคนอื่นค่ะ
หน่วยอนามัยการเจริญพันธุ์และงานวางแผนครอบครัว
ภาควิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา
คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
โทร.02-4194736-7