การตรวจสุขภาพก่อนสมรส

หนังสือความรู้ก่อนสมรสนอ ได้จัดทำโดยคณาจารย์หน่วยอนามัยการเจริญพันธุ์และงานวางแผนครอบครัว ภาควิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา อาจารย์หน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ และอาจารย์ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

การคุมกำเนิด

การคุมกำเนิด หมายถึง การป้องกันการเกิดหรือการปฏิสนธิ หรือการตั้งครรภ์ สรุปคือ ป้องกันหรือไม่ให้อสุจิในน้ำเชื้อของฝ่ายชายมีโอกาสเข้าไปผสมกับไข่ของฝ่ายหญิงภายในปีกมดลูก และป้องกันไข่ที่ผสมแล้วฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูก

เพศศึกษา

เพศสัมพันธ์ เป็นสิ่่งที่เกิดขึ้น เมื่อหญิงและชายมีความรักผูกพัน อยากอยู่ใกล้กันและกันและอยากสัมผัสกัน ความรู้สึกทางเพศเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ยกเว้นหญิงและชายนั้นอายุมากจริงๆก็อาจไม่มีความต้องการทางเพศ

การตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ คือ ช่วงระยะเวลาเริ่มหลังจากการปฏิสนธิ โดยที่ตัวอสุจิ (sperm) ผสม (conceive) กับ ไข่ (egg)ในสภาวะและเวลาที่เหมาะสม จนถึงการคลอด โดยในมนุษย์ใช้เวลาในการตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์ หรือ 9 เดือน

สุขภาพ

สุขภาพกายและสุขภาพจิตเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับทุกชีวิตการที่จะดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติก็คือ การทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ จิตใจมีความสุข ความพอใจ ...

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วิตามินคนท้อง แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วิตามินคนท้อง แสดงบทความทั้งหมด

วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556

วิตามินสำหรับคนท้อง

7 วิตามินสำคัญสำหรับคนท้อง

เมื่อคุณตั้งครรภ์  เป็นเรื่องสำคัญที่คุณต้องได้รับวิตามินและแร่ธาตุอย่างเต็มที่ เพราะมันเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับพัฒนาการทางสุขภาพของทารกในครรภ์ ดังนั้น คุณจึงต้องรู้ว่าวิตามินเหล่านั้นมีหน้าที่อะไร และให้คุณค่าด้านโภชนาการแก่ส่วนใดของคุณบ้าง ในที่นี้จะขอกล่าวถึงวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญเจ็ดชนิด

1.  โปรตีน : โปรตีนเป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างเซลล์ร่างกายของลูกน้อย ความต้องการโปรตีนมีเพิ่มมากขึ้นในระหว่างสามเดือนที่สองและสามเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ อาหารหลายอย่างอุดมไปด้วยโปรตีนรวมทั้ง เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ เนย และเต้าหู้

2.แคลเซียม : แร่ชาติชนิดนี้มีความสำคัญต่อการพัฒนากระดูของลูกน้อย และร่างกายของคุณจะต้องการแร่ธาติชนิดนี้เพิ่มขึ้นมากในระหว่างการตั้งครรภ์ การขาดแคลเซียมสามารถทำให้เกิดกระดูพรุนและกระดูกของลูกไม่แข็งแรง แคลเซียมมีอยู่มากในผลิตภัณฑ์นม เช่น นมสด เนย โยเกิร์ต ผักขม เต้าหู้ และบร๊อคโคลี


3. วิตามิน อี : วิตามินชนิดนี้ช่วยในการพัฒนาของกล้ามเนื้อและเซลล์เม็ดเลือดของทารก การขาดวิตามินอีมีผลทำให้ทารกคลอดมาน้ำหนักต่ำ ในขณะที่การได้รับวิตามินนี้มากเกินไปก็เกี่ยวข้องกับการแท้งลูก

เพราะฉะนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณจะต้องขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนที่จะรับประทานวิตามิน อี เสริม วิตามิน อี สามารถพบได้ในอาหารหลายชนิดเช่น น้ำมันพืช ถั่ว และธัญพืช

4. วิตามินบี 1 : วิตามินชนิดนี้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับพัฒนาการของระบบประสาทส่วนกลางของลูกน้อย การได้รับวิตามิน บี 1 ไม่เพียงพออาจทำให้ลูกของคุณเสี่ยงต่อการเป็นโรคเหน็บชา ซึ่งสามารถเป็นอันตรายต่อหัวใจและปอดของลูกได้ อาหารที่มีวิตามิน บี 1 เช่น อาหารจากข้าวและแป้ง จมูกข้าวสาลี และไข่

5. วิตามิน บี 6 : วิตามินนี้ช่วยในการพัฒนาสมองและระบบประสาทของลูกน้อย ในบางกรณีมันยังช่วยลดอาการแพ้ท้องได้ด้วย วิตามิน บี 6 หาได้จากกล้วย แตงโม ถั่วเขียว และหน้าอกไก่

6. เหล็ก : แร่ธาตุชนิดนี้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาของเซลล์เม็ดเลือด ซึ่งจำเป็นสำหรับพัฒนาการทางสุขภาพของลูกน้อย เหล็กยังเป็นแร่ธาตุที่สำคัญในการเติบโตของรก เหล้กสามารถพบได้จาก เนื้อสัตว์สีแดง ผัก ข้าว และธัญพืชวิตามิน

7. สังกะสี : แร่ธาตุชนิดนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตของเซลล์ในทารกในครรภ์ เหล็กยังช่วยเสริมการผลิตเอ็นไซม์ เช่น อินซูลิน ในหญิงตั้งครรภ์ เหล็กสามารถพบได้ใน เนื้อสัตว์สีแดง เป็ด ไก่ ถั่ว ข้าว และผลิตภัณฑ์นม

วิตามินและแร่ธาตุ เป็นส่วนสำคัญสำหรับโภชนาการของสตรีมีครรภ์ทุกคน  อย่างไรก็ตาม คำแนะนำด้านวิตามินและแร่ธาตุที่คุณต้องการในระหว่างการตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ


หน่วยอนามัยการเจริญพันธุ์และงานวางแผนครอบครัว
ภาควิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา
คณะแพทย์ศาสาตร์ศิริราชพยาบาล
โทร.02-4194736-7