การตรวจสุขภาพก่อนสมรส

หนังสือความรู้ก่อนสมรสนอ ได้จัดทำโดยคณาจารย์หน่วยอนามัยการเจริญพันธุ์และงานวางแผนครอบครัว ภาควิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา อาจารย์หน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ และอาจารย์ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

การคุมกำเนิด

การคุมกำเนิด หมายถึง การป้องกันการเกิดหรือการปฏิสนธิ หรือการตั้งครรภ์ สรุปคือ ป้องกันหรือไม่ให้อสุจิในน้ำเชื้อของฝ่ายชายมีโอกาสเข้าไปผสมกับไข่ของฝ่ายหญิงภายในปีกมดลูก และป้องกันไข่ที่ผสมแล้วฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูก

เพศศึกษา

เพศสัมพันธ์ เป็นสิ่่งที่เกิดขึ้น เมื่อหญิงและชายมีความรักผูกพัน อยากอยู่ใกล้กันและกันและอยากสัมผัสกัน ความรู้สึกทางเพศเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ยกเว้นหญิงและชายนั้นอายุมากจริงๆก็อาจไม่มีความต้องการทางเพศ

การตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ คือ ช่วงระยะเวลาเริ่มหลังจากการปฏิสนธิ โดยที่ตัวอสุจิ (sperm) ผสม (conceive) กับ ไข่ (egg)ในสภาวะและเวลาที่เหมาะสม จนถึงการคลอด โดยในมนุษย์ใช้เวลาในการตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์ หรือ 9 เดือน

สุขภาพ

สุขภาพกายและสุขภาพจิตเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับทุกชีวิตการที่จะดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติก็คือ การทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ จิตใจมีความสุข ความพอใจ ...

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ โฟเลตสูง แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ โฟเลตสูง แสดงบทความทั้งหมด

วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

อาหารที่มีโฟเลตสูง







แหล่งที่พบกรดโฟลิกตามธรรมชาติ ได้แก่

1
กลุ่มผักและผลิตภัณฑ์แปรรูปผัก
ผักใบเขียว ต่างๆ ผักป้วยเล้ง ผักคะน้า ผักโขม ผักกาดหางหงส์หน่อไม้ฝรั่ง กระหล่ำดอก กระหล่ำปลี บร็อคโคลี่ แครอท
ฟักทอง ผักกาดดอง ( ผักกาดขาวเป็นผักที่สำคัญชนิดหนึ่งของหญิงมีครรภ์ เพราะการที่เป็นผักที่มีโฟเลตสูง จึงส่งผลดีต่อลูกในครรภ์ของคุณ เพราะโฟเลตจะช่วยสร้างความสมบูรณ์ให้กับเม็ดเลือดแดง และ DNA ของลูก จึงทำให้เด็กแข็งแรงไม่ผิดปกติ)

2
กลุ่มผลไม้และผลิตภัณฑ์แปรรูปผลไม้
สับปะรด กล้วย ส้ม ส้มโชกุน สับปะรดศรีราชา ฝรั่งแป้นสีทอง  มะละกอ มะเขือเทศ แคนตาลูบ มันเทศ แอพริคอต อะโวคาโด แยมสับปะรด (ผลไม้ที่ให้ค่าโฟเลตได้สูงสุดคือสัปปะรดศรีราชา 300.54 ไมโครกรัม / 100 กรัม )

3
กลุ่มธัญพืชและผลิตภัณฑ์แปรรูปธัญพืช
ข้าวหอมมะลิ ข้าวเหนียว ข้าวกล้อง(ซ้อมมือ)หอมมะลิ ข้าวแตน ข้าวกล้อง จมูกข้าวสาลี ถั่วต่าง ๆ เช่นถั่วเขียว ถั่วลันเตา ถั่วลิสง ถั่วแดงหลวง อาหารแปรรูป เช่น บะหมี่ ขนมปัง พิซซ่า และยีสต์  (ธัญพืชที่ให้โฟเลตสูงสุด คือ ข้าวกล้องให้ค่าสูงสุดคือ 262.53 ไมโครกรัม / 100 กรัม)

กลุ่มเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์
เนื้อหมูสันใน
เนื้อวัวสะโพก
เนื้อไก่อก
เนื้อปลาดุก
ไส้กรอกหมู
ตับ ไต
(
เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ให้ปริมาณโฟเลทระหว่าง 60.94 155.52 ไมโครกรัม / 100 กรัม
โดยเนื้อหมูสันในให้ค่าสูงสุดคือ 155.52 ไมโครกรัม / 100 กรัม )

ทานโฟเลตมาก ๆ อันตรายหรือไม่
ในคนปกติการทานโฟเลตในปริมาณมากๆ เกินความต้องการของร่างกายไม่เป็นไร เพราะร่างกายจะสามารถขับโฟเลตส่วนเกินนี้ออกมาได้เองไม่มีผลเสียอะไรต่อร่างกาย

แต่สำหรับผู้สูงอายุ การรับประทานโฟลิก เสริมเป็นสิ่งที่ต้องพึงระวังครับ เพราะโฟเลตที่มี่จำนวนมากทำให้เกิดความเสี่ยงสูงต่อการขาดวิตามินบี 12   ผู้สูงอายุที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนทานวิตามินเสริมกรดโฟลิก


โฟเลต หรือวิตามิน B9 มีหน้าที่สำคัญในกระบวนการสร้าง DNA และเซลล์ต่างๆของร่างกาย เมื่อคุณแม่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ ร่างกายจะต้องการโฟเลตในปริมาณที่เพิ่มขึ้นกว่าก่อนตั้งครรภ์ถึง 50% คือจาก400 ไมโครกรัม เพิ่มเป็น 600 ไมโครกรัมต่อวัน  เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของลูกน้อย และสร้างเม็ดเลือดที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์

ขาดโฟเลต ส่งผลร้ายต่อลูกน้อยในครรภ์ตั้งแต่ไตรมาสแรก (ช่วง 3 เดือนแรก)

หากคุณแม่ได้รับโฟเลตไม่เพียงพอต่อความต้องการ ความผิดปกติร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อยในครรภ์ตั้งแต่ในช่วงไตรมาสแรก ก็คือ ความพิการทางสมองที่เรียกว่า Neural tube defect ซึ่งเป็นความผิดปกติในการสร้างหลอดประสาทที่มีผลต่อไขสันหลังและสมอง ในรายที่รุนแรงมากอาจพบว่าสมองทั้งหมดขาดหายไป (Anencephaty) ไม่แน่ใจว่าเป็นตัว
หรืออาจพบว่ากระดูกสันหลังปิดตัวไม่สนิททำให้ของเหลวในไขสันหลังดันโป่งออกมา (Spina Bifida)